ข้อมูลด้านการศึกษา

ในเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุ มีสถานศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนวัยเรียน ระดับประถมศึกษา   ระดับมัธยมศึกษา  มีทั้งโรงเรียนในสังกัดรัฐบาลและเอกชน โดยมีสถานศึกษาที่อยู่ในเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุ  ดังนี้

  1. โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย 2 ระดับการศึกษา มัธยมต้นและมัธยมปลาย
  2. โรงเรียนบ้านโปะหมอ (พรหมเทพราษฏร์บำรุง) ระดับการศึกษา อนุบาล และประถมศึกษา
  3. โรงเรียนวัดเทพชุมนุม ระดับการศึกษา อนุบาล และประถมศึกษา
  4. โรงเรียนกิตติวิทย์บ้านพรุ (เอกชน)ระดับการศึกษา อนุบาล ประถมศึกษามัธยมต้นและมัธยมปลาย
  5. โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองบ้านพรุ ระดับการศึกษา อนุบาล
  6. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองบ้านพรุ มีทั้งหมด 4 ศูนย์ ได้แก่
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองบ้านพรุ ศูนย์ที่ 1 ถนนศูนย์สาธิตการยาง
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองบ้านพรุ ศูนย์ที่ 2 ถนนมัสยิด
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองบ้านพรุ ศูนย์ที่ 3 ถนนชุมแสง 6
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองบ้านพรุ ศูนย์ที่ 4 ถนนชงโค

ข้อมูลด้านสาธารณสุข

– คลินิกเอกชน             จำนวน   10   แห่ง      

– ร้านขายยา                จำนวน   15  แห่ง

– ศูนย์บริการสาธารณสุข  จำนวน   1   แห่ง   

– ผู้เข้ารับการรักษาในศูนย์บริการสาธารณสุขประมาณ  14,000  คน/ปี 18,000 ครั้ง/ปี

– ประเภทการเจ็บป่วยที่เข้ารับการรักษาที่ศูนย์บริการสาธารณสุข ตามลำดับ ดังนี้

1) โรคระบบต่อมไร้ท่อ            2) โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด

3) โรคระบบทางเดินหายใจ      4) โรคระบบกล้ามเนื้อ 5) โรคระบบทางเดินอาหาร        6) โรคผิวหนัง

ข้อมูลการสังคมสงเคราะห์

1. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นเทศบาลเมืองบ้านพรุ เทศบาลได้จัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นเทศบาลเมืองบ้านพรุ โดยให้บริการด้านการส่งเสริมสุขภาพแก่ประชาชน

2. สวัสดิการเบี้ยยังชีพ  เทศบาลได้จัดให้มีเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์ เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูบุตร ซึ่งประชาชนสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่กองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองบ้านพรุ

ข้อมูลการกีฬาและนันทนาการ

  • สนามกีฬาเอนกประสงค์ จำนวน 1 แห่ง (สนามกีฬาเมืองหลักภาคใต้พรุค้างคาว)
  • ลานกีฬา จำนวน 1 แห่ง
  • สนามฟุตบอล จำนวน 4 แห่ง
  • สนามฟุตบอลหญ้าเทียม จำนวน 1 แห่ง
  • สระว่ายน้ำ จำนวน 2 แห่ง
  • สวนสาธารณะ จำนวน 1 แห่ง (สวนสาธารณะพรุค้างคาว)

ข้อมูลด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองบ้านพรุ มีหน่วยงานที่อำนวยการเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จำนวน 4 หน่วยงาน ดังนี้

1.งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลเมืองบ้านพรุ ตั้งอยู่บริเวณสำนักงานเทศบาลเมืองบ้านพรุ ถนนเทศบาลใหม่ ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีหน้าที่ป้องกันบรรเทาและระงับสาธารณภัยต่าง ๆ มีอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ 18 นาย จำแนกเป็นพนักงานเทศบาล 1 นาย พนักงานจ้างตามภารกิจ 12 นาย และพนักงานจ้างทั่วไป 5 นาย

    1.1  เครื่องมือเครื่องใช้
    - รถยนต์ดับเพลิง        จำนวน   2 คัน 
    - รถยนต์บรรทุกน้ำ       จำนวน   3 คัน
    - เครื่องดับเพลิงชนิดหาบหาม      จำนวน  2 เครื่อง
    - เรือท้องแบนพร้อมเครื่องยนต์ จำนวน 3 ลำ

– เรือท้องแบนธรรมดา จำนวน 8 ลำ
1.2 อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน จำนวน 300 คน
1.3 วิทยุสื่อสาร ชนิดติดตั้งประจำสำนักงาน จำนวน 2 เครื่อง ชนิดติดตั้งประจำรถยนต์ 6 เครื่อง และชนิดเคลื่อนที่ จำนวน 15 เครื่อง
1.4 ในรอบปีที่ผ่านมามีการปฏิบัติหน้าที่ระงับอัคคีภัย จำนวน 10 ครั้ง

2. จุดบริการประชาชนตำบลบ้านพรุสถานีตำรวจภูธรทุ่งลุง (ป้อมตำรวจบ้านพรุ) ตั้งอยู่บริเวณ สี่แยกถนนบ้านพรุธานี เลขที่ 438 ถนนกาญจนวนิช ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อเป็นจุดให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลบ้านพรุ

3. ศูนย์ประสานงานสมาชิก อปพร. ตั้งอยู่ที่งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีหน้าที่สนับสนุนช่วยเหลือราชการในการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน

4. กู้ชีพบ้านพรุ ตั้งอยู่ 5 ถนนจันทร์ไชยพูล (ถนนหลังวัดพระบาท) ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีหน้าที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยฉุกเฉิน

5.อส.ชุมชน เป็นองค์กรอาสาสมัครของประชาชนเขตการปกครองต่าง ๆ ของเทศบาล ที่ได้ร่วมกันรักษาความปลอดภัยในชุมชน ในการดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชน

6.ชุดปฏิบัติการบูรพา กองร้อย อส.อ.หาดใหญ่ที่ 4 ตั้งอยู่ที่ถนนสราญราษฎร์ ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีหน้าที่ รักษาความสงบเรียบร้อยภายในท้องที่ร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ

ระบบบริการพื้นฐาน

1.การคมนาคมขนส่ง

เส้นทางคมนาคมหลัก ๆ ในเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุ ซึ่งเป็นเส้นทางติดต่อกับอำเภอใกล้เคียง ได้แก่
– ถนนกาญจนวนิช หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (กรุงเทพฯ – คลองพรวน) เป็นเส้นทางสายหลักเชื่อมระหว่างอำเภอหาดใหญ่มุ่งสู่ประเทศมาเลเซีย ที่ด่านพรมแดนด่านนอก และ ด่านพรมแดนปาดังเบซาร์
– ถนนเอเชีย หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 43 (บ้านคูหา – จะนะ) เป็นถนนที่ผ่านทางทิศเหนือสุดของเขตเทศบาลเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างเทศบาลเมืองบ้านพรุกับเทศบาลเมืองคอหงส์
– ถนนสายโปะหมอ – บ้านท่าหรั่ง (ถนนบ้านพรุธานี) เป็นถนนที่เชื่อมเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุกับเขตอำเภอคลองหอยโข่งซึ่งสามารถใช้เป็นทางลัดไปสู่สนามบินนานาชาติหาดใหญ่ได้อีกเส้นทางหนึ่ง
– ถนนสราญราษฎร์ – ถนนพลพิชัย เป็นถนนที่เชื่อมเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุกับเทศบาลเมืองคอหงส์ และเทศบาลนครหาดใหญ่ ใช้เป็นเส้นทางลัดผ่านมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ และเทศบาลนครหาดใหญ่

2.การไฟฟ้า

เทศบาลเมืองบ้านพรุ มีครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าประมาณ 12,000 ครัวเรือน และตามถนนสาธารณะเทศบาลก็ได้จัดให้มีไฟฟ้าสาธารณะอย่างเพียงพอ โดยมีไฟฟ้าสาธารณะครอบคลุมถนนสายหลัก ทุกสาย จำนวน 147 สาย รวมจำนวน 3,500 จุด สำหรับถนนบางจุดที่ยังบริการไปไม่ถึงเทศบาลมีนโยบายที่จะจัดให้มีอย่างทั่วถึง

3.การประปา

ประชาชนส่วนใหญ่ใช้น้ำสำหรับอุปโภคบริโภคจากการขุดเจาะบ่อบาดาล ซึ่งเป็นการนำน้ำใต้ดินมาใช้ เนื่องจากมีน้ำตลอดทั้งปีจึงไม่มีความเดือดร้อนมากนัก ยกเว้นทางทิศตะวันออกของถนนกาญจนวนิช ซึ่งพื้นที่เป็นเนินเขาเตี้ย ๆ จึงมีปัญหาการขาดน้ำบ้างในฤดูแล้ง แต่มีชุมชนอยู่ไม่หนาแน่นมากนัก จากข้อมูลการใช้น้ำประปา ประจำปี พ.ศ. 2564 (เดือนกรกฎาคม 2564) ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุที่ใช้น้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาค หาดใหญ่ จำนวน 5,908 หลังคาเรือน พื้นที่ให้บริการน้ำประปาในเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ กปภ. สาขาหาดใหญ่ (พ.) จำนวน 80 ตารางกิโลเมตร มีปริมาณการใช้น้ำเฉลี่ย 3 เดือน รวม 112,700 ลูกบาศก์เมตร/เดือน โดยใช้แหล่งน้ำดิบ สำหรับผลิตน้ำประปา คือ แหล่งน้ำผิวดินจากคลองอู่ตะเภา นอกจากนี้ประชาชนในเขตการปกครองที่ 6 (บ้านบางศาลา) ใช้น้ำจากประปาหมู่บ้าน

4.โทรศัพท์และอินเตอร์เน็ต

ในเขตเทศบาลมีการใช้บริการโทรศัพท์โทรศัพท์เคลื่อนที่เครือข่ายต่าง ๆ อย่างแพร่หลายและมีระบบอินเตอร์เน็ตครอบคลุมพื้นที่เทศบาล ซึ่งทำให้การติดต่อสื่อสารมีความสะดวกรวดเร็วขึ้น

5.ไปรษณีย์ หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์

ในเขตเทศบาลมีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขบ้านพรุ ตั้งอยู่บริเวณถนนกาญจนวนิช

หน่วยงานที่มีเครือข่ายวิทยุสื่อสารในพื้นที่ ได้แก่ อาสาสมัครป้องกันฝ่ายพลเรือน และระบบกระจายเสียงของเทศบาล ปัจจุบันกระจายเสียง 2 ระบบ คือ

    1. ระบบกระจายเสียงตามสายโดยมีจุดกำเนิดเสียงจากห้องส่งเทศบาลผ่านสายไปตามจุดต่าง ๆ  
    2. ระบบกระจายเสียงแบบไร้สาย สามารถ เปิด – ปิดอัตโนมัติโดยผ่านสัญญาณตัวแม่จากห้องส่งเทศบาล  คือ  ใช้คลื่นความถี่  420.200 MHz ทำการออกอากาศผ่านระบบตัวแม่ที่ห้องส่งเทศบาล  ไปยังตัวรับจุดต่างๆ ในชุมชน ซึ่งมีความถี่เดียวกัน 
    เวลาออกอากาศ    วันจันทร์-วันศุกร์  
    ช่วงเวลาเช้า    เวลา 06.30 น. – 07.00 น.
    ช่วงเวลาเย็น    เวลา 17.00 น. – 17.30 น. 
เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ แต่สามารถกระจายเสียงได้ในภาวะฉุกเฉิน เร่งด่วน หรือมีเหตุจำเป็นต้องแจ้งให้ประชาชนทราบ